สถิติการเยี่ยมชม

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งโบรารคดี

แหล่งโบราณคดี


ชื่อ    พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า 


สถานที่ตั้ง    ตำบลบ้านเก่า   อำเภอเมืองกาญจนบุรี   จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา 
บ้านเก่าเป็นตำบลเล็ก  ๆ ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย อยู่ในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี อยู่ห่างไปทางทิศเหนือ
ประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เป็นสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์    เนื่องจากได้มีเชลยศึกชาวฮอลันดาซึ่ง
ถูกเกณฑ์ให้มาสร้างทางรถไฟสายมรณะคนหนึ่งชื่อ ดร.แวน ฮิคเดอเรน    ได้พบเครื่องมือสมัยหินหลายชิ้นใน
บริเวณนี้จึงเก็บรวบรวมไว้      และได้บันทึกเรื่องราวเปิดเผยเกี่ยวกับสิ่งที่ค้นพบออกเผยแพร่     นักโบราณคดี
นักมานุษยวิทยา นักโบราณชีววิทยา นักธรณีวิทยา ฯลฯ   ทั้งที่เป็นชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ร่วมมือกัน
สำรวจ และศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของบ้านเก่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓   เป็นต้นมา ผลการศึกษาค้นคว้าพบหลัก
ฐานว่า ตำบลบ้านเก่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนตั้งแต่ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีเศษมาแล้ว จากการค้นพบเรื่อง
ราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเก่า     ทำให้บ้านเก่ากลายเป็นสถานที่ดึงดูดใจนักประวัติศาสตร์
และนักโบราณคดีเป็นจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์บ้านเก่า      เพื่อจัดเก็บโบราณวัตถุบาง
ส่วนที่ค้นพบสำหรับนักท่องเที่ยว  และผู้สนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้ชมและศึกษาค้นคว้า

ลักษณะทั่วไป
 
พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า  เป็นพิพิธภัณฑ์ค่อนข้างเล็ก        เก็บรักษาเฉพาะโบราณวัตถุที่ค้นพบที่บ้านเก่า มี
โครงกระดูกของมนุษย์ในยุคหินจัดวางอยู่บนแท่นดินที่ขุดลงไปในดิน     ให้ได้ระดับเดียวกับที่พบโครงกระดูก
ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณเดียวกัน     เช่น ขวานหิน หรือที่เรียกขวานฟ้า
เครื่องประดับต่าง ๆ  ที่ทำจากหอย  เครื่องปั้นดินเผา  และสิ่งอื่น  ๆ วางประดับอยู่ในพิพิธภัณฑ์

หลักฐานที่พบ
 
โครงกระดูกของมนุษย์ในยุคหิน  เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด  ขวานหินขัดสมัยใหม่      จากการ
ตรวจสอบพบว่าเป็นเครื่องมือยุคหินใหม่ จึงเรียกเครื่องมือหินนี้ว่าวัฒนธรรมแฟงน้อย     ( fengnoi culture)
หรือวัฒนธรรมแควน้อย

เส้นทางเข้าสู่พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า 
เดินทางโดยรถไฟหรือรถยนต์        ทางรถไฟจะต้องลงที่สถานีบ้านเก่า และเช่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างไปที่
พิพิธภัณฑ์ หรือจะลงรถไฟที่สถานีท่าตาเสือแล้วเดินย้อนกลับมาที่วัดท่าโป๊ะ ระยะทาง ๒ กิโลเมตร เดินทาง
โดยรถยนต์จะสะดวกกว่า        เนื่องจากมีรถยนต์จากอำเภอเมืองกาญจนบุรีไปตามเส้นทางสายกาญจนบุรี -
ลุ่มสุ่ม ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง



ชื่อ    ปราสาทเมืองสิงห์ 
สถานที่ตั้ง    ตำบลสิงห์   อำเภอไทรโยค   จังหวัดกาญจนบุรี 

ประวัติความเป็นมา
 
เป็นเมืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่ขอมมีอำนาจ  ประมาณ พ.ศ. ๑๔๐๐ - ๑๗๐๐ ครั้นเมื่อขอมหมดอำนาจและ
ไทยได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้แทน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา   คงเห็นว่าเมืองสิงห์เป็นเมืองเล็กไม่มีความ
สำคัญจึงมิได้แต่งตั้งผู้ใดมาเป็นเจ้าเมือง          คงปล่อยให้ร้างไปหลังจากขอมหมดอำนาจลง เมื่อถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ทรงตั้งเมืองสิงห์ขึ้นใหม่อีกครั้ง   และแต่งตั้งเจ้าเมืองมาครอง
ในฐานะเป็นเมืองหน้าด่านขึ้นอยู่กับจังหวัดกาญจนบุรี    เมืองสิงห์คงมีสภาพเป็นเมืองมาจนถึงสมัยพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่โดยจัดให้เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล
เมืองสิงห์ จึงถูกยุบลงกลายเป็นตำบล ขึ้นอยู่กับอำเภอไทรโยคมาจนปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไป
 
ปราสาทเมืองสิงห์        เป็นโบราณสถานเพียงแห่งเดียวที่มีศาสนสถานสร้างอยู่ในบริเวณกึ่งกลางเมือง
เป็นโบราณสถานที่มีศิลปะการก่อสร้างในยุคลพบุรีตอนปลาย มีลักษณะเป็นเมืองที่มีกำแพงทำด้วยศิลาแลง
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบ      กำแพงด้านในถมดินลาดเป็นคันกำแพง  กำแพงเมืองมีขนาดกว้าง ๘๘๐ เมตร
ยาว ๑,๕๐๐ เมตร สูง ๕ เมตร นอกกำแพงเมืองรอบนอกทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศเหนือมีกำแพงดิน
ขาดเป็นตอน  มีซากให้เห็น  ๓  ชั้น  และทางด้านทิศตะวันตกมีซากกำแพงดินเหลืออยู่อีก  ๗  ชั้น 

หลักฐานที่พบ
 
จากการขุดแต่งบริเวณปราสาทเมืองสิงห์  โดยเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี ได้พบประติมากรรมศิลปะขอม
แบบบายนในพุทธศาสนาลัทธิมหายานที่สำคัญหลายชิ้น   ได้แก่  ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
นางปรัชญาปารมิตา และชิ้นส่วนของพระพุทธรูป เป็นต้น

เส้นทางเข้าสู่ปราสาทเมืองสิงห์
 

ทางรถไฟ  :
 ขึ้นรถไฟสายธนบุรี - น้ำตก      จากสถานีกาญจนบุรีไปลงที่สถานีท่ากิเลน แล้วเดินทางไป
ตามทางรถยนต์ ประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร

ทางรถยนต์  :
 ได้ ๒ ทาง สายกาญจนบุรี - ลุ่มสุ่ม     ถึงทางแยกเข้าสถานีรถไฟท่ากิเลน เลี้ยวซ้ายตรง
ทางแยกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร    ส่วนอีกทางออกจากตัวจังหวัดกาญจนบุรีไปตามถนนสายเอเซียประมาณ
๔๐ กิโลเมตร เข้าสถานีรถไฟท่ากิเลนเดินทางต่อไปอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร

ทางเรือ :
 ขึ้นเรือที่ปราสาทเมืองสิงห์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔ ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น